
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: เศรษฐศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Economics
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทยชื่อเต็ม: เศรษฐศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ: ศ.บ.
ภาษาอังกฤษชื่อเต็ม: Bachelor of Economics
ชื่อย่อ: B. Econ.
คำอธิบายรายวิชา
มศว 111 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3(2-2-5)
ศึกษาองค์ประกอบการสื่อสารและกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเขียนพรรณนา
ความ สรุปความ ย่อความ ขยายความ และการสังเคราะห์ความคิดเพื่อการสื่อสารฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ท่หีลากหลาย
มศว 112 วรรณกรรมไทยปริทรรศน์ 3(2-2-5)
ศึกษากระบวนการคิด การถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญา คุณค่าของภาษาและความเป็นไทย
ในงานวรรณกรรม ทั้งนี้โดยเลือกศึกษาจากวรรณกรรมในอดีต ร่วมสมัย ร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ด้วยกระบวนการเรียนรู้ท่หีลากหลาย
มศว 121 ภาษาอังกฤษเพื่อประสิทธิภาพการสื่อสาร 1 3(2-2-5)
พัฒนาทักษะทางด้านภาษาเพื่อการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ โดยเรียนรู้ เข้าใจ และฝึก
ทักษะภาษาด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน และคา ศัพท์ในชีวิตประจำวัน ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียน ส่งเสริมการเรียนรู้แบบพึ่งพาตน นำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาต่อไป
มศว 122 ภาษาอังกฤษเพื่อประสิทธิภาพการสื่อสาร 2 3(2-2-5)
พัฒนาทักษะด้านภาษาและกระบวนการเรียนรู้เพื่อการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ โดยฝึก
ทักษะภาษาด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน ด้วยส่ือกระบวนการเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศท่ี
หลากหลาย ส่งเสริมการเรียนรู้แบบพึ่งพาตน สนับสนุนให้น าภาษาอังกฤษไปใช้ในการสร้างความร่วมมือในการเรียนรู้และเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
มศว 123 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ 1 3(2-2-5)
พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน และด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาน
เรียนรู้ภาษาอังกฤษในฐานะท่ีเป็นภาษานานาชาติเพ่ือพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาผ่านส่ือและกระบวนการเรียนรู้ท่หีลากหลายท้งัในและนอกห้องเรียน เรียนรู้วิธีการน าความรู้และกระบวนการเรียนรู้ภาษาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวันและในการศึกษา เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพื่อพัฒนาตนให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยและสังคมโลก
มศว 124 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ 2 3(2-2-5)
พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน และด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เพ่ิมพูนทักษะและประสบการณ์การส่ือสารภาษาอังกฤษในฐานะท่ีเป็นภาษานานาชาติ พัฒนาการ
น าเสนอข้อมูลและความคิดส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านสื่อและกระบวนการเรียนรู้ท่ี
หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียน น าความสามารถทางภาษาและการจัดการกระบวนการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ส าหรับการพัฒนาตนให้เป็นผู้เรียนภาษาแบบยั่งยืน
มศว 141 ทักษะการรู้สารสนเทศ 3(2-2-5)
ศึกษาความส าคัญของระบบและกระบวนการสื่อสาร พัฒนาทักษะในการสืบค้นและ
อ้างอิงข้อมูล การใช้ซอฟท์แวร์ต่าง ๆ และการจัดการความรู้จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนฝึกทักษะการน าเสนอข้อมูลสารสนเทศ โดยตระหนักในจรรยาบรรณ ผลกระทบท่ีมีต่อบุคคลและสงัคม รวมท้งักฎหมายท่เีก่ยีวข้อง
มศว 142 วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม 3(2-2-5)
ศึกษากระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และเทคโนโลยี ศึกษา
ระบบนิเวศวิทยาเพื่อให้เข้าใจถึงความส าคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลรวมทั้งศึกษาผลกระทบของความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีท่ีมีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อปลูกฝังให้ตระหนักถึงความส าคัญของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และสันติสุขอย่างยั่งยืน
มศว 143 พลังงานทางเลือก 3(2-2-5)
ศึกษาผลกระทบจากการใช้พลังงานกระแสหลักท่ีเก่ียวข้องกับปรากฏการณ์โลกร้อน ภาวะ
เรือนกระจก และความไม่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ความหมายและความส าคัญของการใช้พลังงานทางเลือก การปรับระบบคิดหรือกระบวนทัศน์ท่ีมีต่อการจัดการพลังงานให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความยั่งยืนหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 25
ของชุมชน มากกว่าเป้ าหมายทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว การสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นในระบบพลังงานการสร้างภมู ิปัญญาและเทคโนโลยีในการใช้ทรัพยากรท่มีีอยู่ในท้องถ่ิน เพ่ือส่งผลต่อการดา เนินชีวิตท่สีันติสุข
และยั่งยืน
มศว 144 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจ าวัน 3(2-2-5)
ศึกษาคณิตศาสตร์กับการใช้เหตุผล ความรู้ทางสถิติ คณิตศาสตร์ส าหรับผู้บริโภค
คณิตศาสตร์กับศิลปะ คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหาในชีวิตประจ าวัน และเป็นฐานความคิดในเชิงตรรกะและเหตุผล การเรียนรู้และการด ารงชีวิตในสังคม
มศว 145 สุขภาวะและวิถีชีวิตเชิงสร้างสรรค์ 3(2-2-5)
ศึกษาหลักการและแนวคิดของสุขภาวะแบบองค์รวม การบูรณาการแนวคิดดังกล่าวเข้า
กับวิถีชีวิต โดยเน้นการสร้างเสริมศักยภาพส่วนบุคคลของนิสิต ให้สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตของตนเอง ตลอดจนเลือกใช้วิถีชีวิตในเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสมกับบริบททางสังคม
มศว 151 การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์ 3(2-2-5)
ศึกษาความหมาย ความส าคัญ และคุณค่าของวิชาศึกษาทั่วไป ทั้งทางด้านมนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศาสตร์และศิลป์ โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพการรับรู้และการสื่อสาร การ
แสวงหาความรู้ การพัฒนาจิตใจ การพัฒนาเชาว์ปัญญา ให้สามารถ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหา เพ่ือให้ผู้เรียนเป็นบัณฑติ ท่มีีคุณภาพ
มศว 251 มนุษย์กับสังคม 3(2-2-5)
ศึกษาความรู้พ้ืนฐานเก่ียวกับมนุษย์และสังคม ท้ังสังคมไทยและสังคมโลก โดยมุ่งให้
ผู้เรียนมีความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์ และน าความรู้มาพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันสังคม มีความ
รับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีคุณธรรมจริยธรรม ซาบซึ้งในวัฒนธรรม ศิลปะ และอารยธรรม
ของมนุษย์มีจิตสา นึกในการอยู่ร่วมกันในสังคมและธรรมชาติส่ิงแวดล้อมอย่างสันติตระหนักในหน้าท่ี
รับผิดชอบและบทบาทท่พีึงมีในฐานะพลเมืองและสมาชิกของสงัคม
มศว 252 สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต 3(2-2-5)
ศึกษาแนวคิดทางด้านสนุ ทรียศาสตร์แสวงหาประสบการณ์และคุณค่าของสุนทรียะท่มีีต่อ
การดา รงชีวิต ศึกษาสุนทรียศาสตร์ในเชิงบูรณาการ ท้งัท่ีเก่ียวข้องกับธรรมชาติศิลปะ การแสดง ดนตรีวรรณกรรม สุนทรียะท่ีผสานสัมพันธ์กับบริบทสังคม วัฒนธรรม ธรรมชาติส่ิงแวดล้อม โดยมุ่งเน้น
กระบวนการเรียนรู้ส่อืและประสบการณ์ท่หีลากหลาย
มศว 341 วิทยาศาสตร์ฟิ สิกส์ กฎของธรรมชาติ พลังงาน และจิต 3(2-2-5)
ศึกษาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ฟิสกิสท์ ่เีป็นความจริงของธรรมชาติเช่น ทฤษฎีของกาลิเลโอ
กฏของนิวตัน ทฤษฎีของไอน์สไตน์ ทฤษฎีสสาร-พลังงาน ทฤษฎีสัมพันธภาพ ทฤษฎีฟิ สิกส์ควอนตั้มทฤษฎีเทอร์โมไดนามิกส์ น าไปสู่ความเข้าใจเรื่องของกฎของธรรมชาติ พลังงาน และความจริงแท้ของจิต
มศว 351 การพัฒนาบุคลิกภาพ 3(2-2-5)
ศึกษาและพัฒนาบุคลิกภาพท้งัท่เีป็นรูปธรรมและนามธรรม เพ่ือการดา เนินชีวิตท่ดีีงามมี
วินัย รู้กาลเทศะ ทั้งในโลกส่วนตัว ครอบครัว ชุมชนและสังคม ท่ามกลางขนบธรรมเนียม ประเพณี
วัฒนธรรมความเป็นไทยท่ามกลางกระแสสังคมโลก ด้วยส่ือและกระบวนการเรียนรู้และประสบการณ์ท่ี
หลากหลาย
มศว 352 ปรัชญาและกระบวนการคิด 3(2-2-5)
ศึกษาแนวคิดและปรัชญา ปรัชญาในเชิงบูรณาการ ทั้งกระแสตะวันออกและตะวันตก
พัฒนาการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ปรัชญาท่ีเป็นกระบวนการคิดท่ีสัมพันธ์กับชีวิต สังคม ธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม เพื่อการด าเนินชีวิตท่ดีีงาม มีเหตุผล มีอุดมการณ์มีคุณธรรมจริยธรรม
มศว 353 มนุษย์กับการใช้เหตุผลและจริยธรรม 3(2-2-5)
ศึกษาการใช้เหตุผลและจริยธรรม สร้างเสริมให้เป็ นผู้ใฝ่ รู้ความจริง และคิดอย่างมี
เหตุผล ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม เหตุผลจริยธรรมท่ีเก่ียวข้องกับตนเอง ผู้อ่ืน และบริบทท่ี
เก่ยีวข้อง ด้วยส่อืและกระบวนการเรียนรู้ท่หีลากหลาย
มศว 354 มนุษย์กับสันติภาพ 3(2-2-5)
ศึกษาแนวคิดเก่ยีวกบัสนั ติภาพและการจัดการความขัดแย้งในชีวิตครอบครัวชุมชน สังคม
ศึกษาหลักสันติธรรมจากศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี
มศว 355 พุทธธรรม 3(2-2-5)
ศึกษาภูมิปัญญาและกระบวนการคิดจากพุทธธรรมท่ีเก่ียวข้องกับการด ารงชีวิต การ
พัฒนาคุณภาพชีวิตบนฐานพุทธธรรม ทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และศาสนา เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การดา เนินชีวิตท่มีีศีลธรรมจรรยา มีระเบียบวินัยและสันติสุข
มศว 356 วรรณกรรมและพลังทางปัญญา 3(2-2-5)
ศึกษาแนวคิด คุณค่า และสุนทรียะจากวรรณกรรมหลากรูปแบบโดยเน้นการศึกษาในเชิง
คิด วิเคราะห์ท่กี่อให้เกิดพลังปัญญา พลังจินตนาการ และพลังในการดา เนินชีวิต อันจะช่วยพัฒนาการด าเนินชีวิตท่ดีีงาม มีระเบียบวินัยและอุดมการณ์
มศว 357 ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ 3(2-2-5)
ศึกษา ค้นคว้าเก่ียวกับพลังความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการท่กี่อให้เกิดความงามและ
สุนทรียะในงานศิลปะนานาประเภท ในบริบทวัฒนธรรมท่ีหลากหลาย อันจะน าไปสู่การสร้างสรรค์ใน
ชีวิตประจา วัน ท้งัน้ีโดยใช้กระบวนการเรียนรู้และส่อืท่หีลากหลาย
มศว 358 ดนตรีและจิตวิญญาณมนุษย์ 3(2-2-5)
ศึกษาและแสวงหาประสบการณ์ทางด้านดนตรีท่ีกว้างและหลากหลาย ดนตรีจากอดีต
และร่วมสมัยดนตรีตะวันออกและตะวันตก ดนตรีไทย ดนตรีพ้ืนบ้าน ดนตรีท่พี ัฒนาจากอดีตกาล ดนตรีในบริบทของวัฒนธรรม ด้วยส่อืและกระบวนการเรียนรู้ท่หีลากหลาย
มศว 361 ประวัติศาสตร์และพลังขับเคลื่อนสังคม 3(2-2-5)
ศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากล ท่ี
พัฒนาจากกระบวนการคิดของมนุษย์ประวัติศาสตร์ท่ีเป็นพลังขับเคล่ือนสังคม ประวัติศาสตร์การเมือง
สังคม เศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม
มศว 362 มนุษย์กับอารยธรรม 3(2-2-5)
ศึกษาและเปรียบเทียบวิวัฒนาการอารยธรรมตะวันตกและตะวันออก ตั้งแต่ยุคโบราณถึง
ปัจจุบัน ตลอดจนการแพร่ขยายและการถ่ายทอดแลกเปล่ียนอารยธรรมในดินแดนต่าง ๆ ซ่ึงมีผลต่อ
สภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของโลกปัจจุบัน รวมท้งัการศึกษาในส่วนท่เีก่ียวกับอารยธรรมไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมโลก
มศว 363 มนุษย์กับการเมือง 3(2-2-5)
ศึกษาธรรมชาติของสังคมมนุษย์และสังคมการเมือง การจัดระเบียบทางการเมือง องค์กรที่ใช้อานาจการปกครอง การรวมกลุ่มทางการเมือง กระบวนการทางการเมือง พฤติกรรมและพลวัตทางการเมือง การบริหารงานของรัฐ โดยเน้นระบบการเมือง การปกครอง และกฎหมายที่มีความสาคัญต่อการดารงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ที่มีคุณธรรมจริยธรรม
มศว 364 เศรษฐกิจในกระแสโลกาภิวัฒน์ 3(2-2-5)
ศึกษาพื้นความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สภาพเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตที่มีผลกระทบต่อการดาเนินชีวิต ตลอดจนบทบาทและความสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจที่มีผลต่อการดารงชีวิตประจาวัน
มศว 365 หลักการจัดการสมัยใหม่ 3(2-2-5)
ศึกษาแนวคิดและหลักการจัดการ ทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการองค์กร การจัดการทรัพยากรขององค์กร ประเด็นต่างๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวโน้มใน การจัดการสมัยใหม่ การจัดการที่เกี่ยวข้องกับคน ภาวะผู้นา การพัฒนาองค์กร และการพัฒนาสังคมที่ก้าวหน้าและสันติสุข
มศว 366 จิตวิทยาสังคม 3(2-2-5)
ศึกษาจิตวิทยาพื้นฐานทางชีววิทยาของพฤติกรรมของมนุษย์ พฤติกรรมสังคม ตัวแปรต่างๆทางสังคมที่ทาให้เกิดพฤติกรรม และสภาวะทางจิตของมนุษย์ โครงสร้างทางสังคม กระบวนการต่างๆทางสังคม เจตคติ การรับรู้ทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความก้าวร้าว พฤติกรรมและบทบาททางเพศ และการสื่อสาร การโฆษณาชวนเชื่อ และแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคม
มศว 367 กฎหมายทั่วไป 3(2-2-5)
ศึกษาวิวัฒนาการของกฎหมาย ลักษณะของกฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ประเภท ลาดับชั้น และหมวดหมู่ของกฎหมาย กฎหมายสาคัญที่จาเป็นต้องรู้ในการดาเนินชีวิต โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ และสื่อที่หลากหลาย
มศว 371 ความคิดสร้างสรรค์กับนวัตกรรม และเทคโนโลยี 3(2-2-5)
ศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการต่าง ๆ การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนาไปสู่การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีชุมชนซึ่งเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม วิศวกรรม ศิลปหัตถกรรม ธุรกิจชุมชน ความสัมพันธ์กับชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้และ สื่อที่หลากหลาย
มศว 372 ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3(2-2-5)
ศึกษาและค้นคว้าภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชุมชน ภูมิปัญญาที่เกิดจากกระบวนการคิด การเรียนรู้ การพัฒนาด้วยการกระทาและปฏิสัมพันธ์ในชุมชน ภูมิปัญญาในการดารงชีวิตร่วมกับผู้อื่น ภูมิปัญญาในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาในการแสวงหาคุณค่าและตัวตนในความเป็นมนุษย์ โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้และสื่อที่หลากหลาย
มศว 373 ภูมิลักษณ์ชุมชน 3(2-2-5)
ศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาภูมิลักษณ์ชุมชน ภูมิลักษณ์ที่แสดงความเป็นท้องถิ่น ลักษณะเฉพาะ และความผสานสัมพันธ์ในชุมชนในบริบทของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ พื้นที่ทางวัฒนธรรม และพื้นที่ทางชาติพันธุ์ บนฐานของคุณธรรม จริยธรรม และความดีงาม โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้และสื่อที่หลากหลาย
มศว 374 สัมมาชีพเพื่อชุมชน 3(2-2-5)
ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาสัมมาชีพในชุมชน เพื่อสร้างสัมมาชีพที่เข้มแข็ง ปลูกฝัง สร้างสานึก และสร้างความตระหนักในศักดิ์ศรีชุมชน สัมมาชีพที่ผูกพันและเคารพในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สันติสุข คุณความดี ศิลปวัฒนธรรม และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้และสื่อที่หลากหลาย
มศว 375 ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการชุมชน 3(2-2-5)
ศึกษาค้นคว้า ปลูกฝังแนวคิด และการปฏิบัติธรรมาภิบาลการบริหารจัดการชุมชน บริหารจัดการบนความถูกต้องและนิติธรรม ความโปร่งใสเชื่อถือได้ การอธิบายตรวจสอบได้ การมีส่วนร่วม การรับผิดชอบต่อบทบาทและหน้าที่เพื่อกานพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้และสื่อที่หลากหลาย
รฐ 111 รัฐศาสตร์เบื้องต้น 3(3-0-6)
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของรัฐศาสตร์ วิวัฒนาการและขอบเขตของวิชารัฐศาสตร์ แนวการศึกษาทางรัฐศาสตร์ สาขาและเนื้อหาในรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับศาสตร์สาขาอื่น รัฐและอานาจอธิปไตย สถาบันทางการเมือง กระบวนการทางการเมือง รวมทั้งพฤติกรรมทางการเมือง
รฐ 113 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย 3(3-0-6)
ศึกษาลักษณะทั่วไปของกฎหมาย ประเภทกฎหมาย การจัดทากฎหมายลายลักษณ์อักษร การใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย การอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย การยกเลิกกฎหมายบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ประเภทสิทธิ การได้สิทธิ การใช้สิทธิ การสงวนสิทธิ การคุ้มครองสิทธิ การโอนสิทธิ การเสียสิทธิ และการระงับซึ่งสิทธิ
บธบ 121 หลักการบัญชี 3(3-0-6)
ศึกษาความหมาย วัตถุประสงค์ของการจัดทาบัญชี และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี แม่บททางการบัญชี หลักการและขั้นตอนในการจัดทาบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป การจัดทางบทดลอง กระดาษทาการ งบการเงินสาหรับกิจการให้บริการและกิจการซื้อขายสินค้า ระบบใบสาคัญ และระบบเงินสดย่อย
ศศฐ100 หลักเศรษฐศาสตร์ 3(3-0-6)
ECC100 Principles of Economics
ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแนวคิดและการวิเคราะห์ของเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์ มหภาค อุปสงค์อุปทาน การปรับตัวสู่ดุลยภาพของตลาด การตั้งราคา และปริมาณผลผลิตภายใต้โครงสร้างตลาด ต้นทุนและรายรับของหน่วยการผลิตในระยะสั้นและระยะยาว ความหมายของรายได้ประชาชาติและดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจมหภาค อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ ความแตกต่างของการออมและการลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ศศฐ101 เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น 3(3-0-6)
ECC101 Introduction to Microeconomics
(บุรพวิชา : ศศฐ 100 หลักเศรษฐศาสตร์)
ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค อุปสงค์และความยืดหยุ่น อุปสงค์ของตลาด พฤติกรรมผู้ผลิต ทฤษฎีต้นทุนการผลิต การกำหนดราคาและปริมาณการผลิตสินค้าของผู้ผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
ศศฐ111 คณิตเศรษฐศาสตร์ 1 3(2-2-5)
ECC111 Mathematical Economics 1
ศึกษาการประยุกต์ใช้ความรู้และการฝึกปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์กับวิชาทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเซต ความ สัมพันธ์ ฟังก์ชันและกราฟ ฟังก์ชั่นรูปแบบต่างๆ สมการและอสมการ ลิมิต อนุพันธ์ของฟังก์ชันหนึ่งตัวแปร การหาค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดของฟังก์ชันหนึ่งตัวแปร อนุพันธ์ย่อย อนุพันธ์รวม ค่าเชิงอนุพันธ์รวม การหาค่าสูงสุดค่าต่ำสุดของฟังก์ชันหลายตัวแปร การหาค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดแบบมีเงื่อนไขข้อจำกัดในรูปสมการ
ศศฐ112 สถิติสำหรับนักเศรษฐศาสตร์ 3(2-2-5)
ECC112 Statistics for Economists
ศึกษาการประยุกต์ใช้ความรู้และการฝึกปฏิบัติการทางสถิติกับวิชาทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรสุ่ม ความน่าจะ เป็น การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง การแจกแจงปกติ การสุ่มตัวอย่างและการแจก แจงตัวอย่างการแจกแจงร่วม ทฤษฎีการประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การแจกแจงไควสแควร์ การวิเคราะห์สมการเชิงเดี่ยวและการวิเคราะห์ความแปรปรวนการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐานสมการเชิงเดี่ยว
ศศฐ201 เศรษฐศาสตร์จุลภาคขั้นกลาง 4(4-0-8)
ECC201 Intermediate Microeconomics
(บุรพวิชา : ศศฐ 101 เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น)
ศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค โดยใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์มาอธิบายในเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค ความพอใจแบบเปิดเผย ทฤษฎีการบริโภคภายใต้ความไม่แน่นอน การผลิตและต้นทุน การกำหนดราคาและปริมาณการใช้ปัจจัย แบบจำลองในตลาดสินค้าต่างๆ ตลาดปัจจัยการผลิต ดุลยภาพทั่วไปและเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ ทฤษฎีเกม ผลกระทบภายนอกและความล้มเหลวของตลาด
ศศฐ202 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น 3(3-0-6)
ECC202 Introduction to Macroeconomics
(บุรพวิชา : ศศฐ 100 หลักเศรษฐศาสตร์)
ศึกษาแนวคิดและวิธีการทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยเศรษฐกิจระดับมหภาค กระแสการไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจ การกำหนดรายได้ประชาชาติ บัญชีรายได้ประชาชาติ ทฤษฎีว่าด้วยการบริโภคและการลงทุน การเปลี่ยนแปลงดุลยภาพรายได้ประชาชาติ ตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค ตลาดเงิน อุปสงค์และอุปทานของเงิน เงินเฟ้อและเงินฝืด ตลาดแรงงานและการว่างงาน ดุลการชำระเงิน นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ศศฐ203 เศรษฐกิจไทย 3(3-0-6)
ECC203 Thai Economy
ศึกษาระบบเศรษฐกิจไทยในภาพกว้างองค์ประกอบของเศรษฐกิจไทย การทำงานของระบบเศรษฐกิจไทย การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างเศรษฐกิจไทย สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนนโยบายของการพัฒนาเศรษฐกิจที่เคยมีมา และปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในชีวิตประจำวัน รวมทั้งศึกษาแนวคิดทางเลือกใหม่ที่มีเป้าหมายทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนรวมทั้ง แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ศศฐ211 คณิตเศรษฐศาสตร์ 2 3(2-2-5)
ECC211 Mathematical Economics 2
(บุรพวิชา : ศศฐ 111คณิตเศรษฐศาสตร์ 1)
ศึกษาการประยุกต์ใช้เครื่องมือและการฝึกปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ในด้านเมทริกซ์ และตัวกำหนดแบบต่าง ๆ ตัวกำหนดจาโกเบียน เฮชเชียน โบเดอร์เฮชเชียน เพื่อให้เข้าใจแนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เชิงสถิต ทฤษฎีพฤติกรรมของผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ดุลยภาพของรายได้ประชาชาติ การวิเคราะห์ดุลยภาพสถิตและเชิงเปรียบเทียบ
ศศฐ212 เศรษฐมิติเบื้องต้น 3(2-2-5)
ECC212 Introduction to Econometrics
(บุรพวิชา : ศศฐ 112 สถิติสำหรับนักเศรษฐศาสตร์)
ศึกษาการประยุกต์ความรู้และการฝึกปฏิบัติการทางสถิติกับวิชาทางเศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การประมาณค่าและการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเดี่ยว การประมาณค่าและการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงซ้อน การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับพารามิเตอร์และความสัมพันธ์ของตัวแปร การประมาณค่าและการวิเคราะห์ตัวแบบตัวแปรหุ่น ปัญหาในการวิเคราะห์สมการถดถอยเมื่อภาวะจริงไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ปัญหาตัวรบกวนมีความสัมพันธ์กัน (Autocorrelation) ปัญหาตัวรบกวนมีความแปรปรวนไม่คงที่ (Heteroskedasticity) ปัญหาตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์เชิงเส้นซึ่งกันและกัน (Multicollinearity) และปัญหาการระบุแบบจำลองผิดพลาด (Specification Error)การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับพารามิเตอร์สมการถดถอยเชิงซ้อน การแปรผลค่าพารามิเตอร์และการทดสอบสมมติฐานและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของการทำงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
ศศฐ302 เศรษฐศาสตร์มหภาคขั้นกลาง 4(4-0-8)
ECC302 Intermediate Macroeconomics
(บุรพวิชา : ศศฐ 202เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น)
ศึกษาแบบจำลอง IS-LM ในตลาดผลผลิต ตลาดเงิน ตลาดทุน รวมทั้งตลาดปัจจัยการผลิต ในการกำหนดดุลยภาพทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การวิเคราะห์ในเชิงสถิต (Statics) เชิงสถิตเปรียบเทียบ (Comparative Statics) และเชิงพลวัต (Dynamics) การเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของอุปสงค์มวลรวม และอุปทานมวลรวม วัฎจักรธุรกิจ การใช้นโยบายการเงิน นโยบายการคลังและนโยบายการค้า รวมทั้งนโยบายเศรษฐกิจอื่นที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ
ศศฐ312 เศรษฐมิติประยุกต์ 3(2-2-5)
ECC312 Applied Econometrics
(บุรพวิชา : ศศฐ 212เศรษฐมิติเบื้องต้น)
ศึกษาแบบจำลองทางเศรษฐมิติผ่านการปฏิบัติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป การวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันด้วยแบบจำลองทางเศรษฐมิติการจัดกระทำข้อมูลก่อนนำมาวิเคราะห์ การเลือกใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติให้เหมาะสมกับประเภทของข้อมูล การแปรผลของแบบจำลองทางเศรษฐมิติต่างๆ โดยเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการประมาณค่าพารามิเตอร์แบบจำลองทางเศรษฐมิติรูปแบบต่างๆ และการอภิปรายผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษาในรูปแบบของการทำงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
ศศฐ481 การวิจัยเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ 3(1-4-4)
ECC481 Introduction to Economic Research
(บุรพวิชา : ศศฐ101 เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น และ ศศฐ202 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น)
ศึกษาหลักการแนวทางการวิจัย กระบวนการและระเบียบวิธีวิจัยเศรษฐศาสตร์โครงสร้าง และรูปแบบของการวิจัย การเขียนโครงร่างวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การพิสูจน์สมมติฐาน ตลอดจนให้นิสิตฝึกปฏิบัติงานวิจัย พร้อมการนําเสนอผลงานวิจัย
ศศฐ321 เศรษฐศาสตร์การพัฒนา 3(3-0-6)
ECC321 Development Economics
ศึกษาหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ลักษณะพื้นฐาน โครงสร้าง และ ปัญหาของประเทศกำลังพัฒนา แนวคิดและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัย อื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา การพัฒนาเกษตรกรรมและการพัฒนาชนบท การพัฒนาอุตสาหกรรม การ เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ประชากร การศึกษา และสุขภาพอนามัย การออม การลงทุน การค้า การลงทุน และหนี้ต่างประเทศ ตลอดจนปัญหาและทางเลือกของเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
ศศฐ341 การเงินการธนาคาร 3(3-0-6)
ECC341 Money and Banking
ศึกษาบทบาทของเงินและสินเชื่อ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยและโครงสร้างอัตราดอกเบี้ย ระบบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น ธนาคารเงา บทบาทของสถาบันการเงินต่อวิกฤตการณ์การเงิน ธนาคารกลางและนโยบายการเงิน โดยเน้นนโยบายการเงินแบบพิเศษ (Unconventional Monetary Policy) รวมทั้งการกำกับดูแลสถาบันการเงินของธนาคารกลาง
ศศฐ351 เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ 3(3-0-6)
ECC351 International Economics
ศึกษาพัฒนาการของทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศเบื้องต้นของนักเศรษฐศาสตร์สมัยคลาสสิก คลาสสิกใหม่ และทฤษฎีการค้าร่วมสมัย ตลอดจนศึกษานโยบายการค้าระหว่างประเทศ ศึกษาดุลการชำระเงินและกระบวนการปรับดุลการชำระเงิน ตลาดเงินตราต่างประเทศการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน
ศศฐ311 คณิตเศรษฐศาสตร์ 3 3(2-2-5)
ECC311 Mathematical Economics 3
(บุรพวิชา : ศศฐ211คณิตเศรษฐศาสตร์ 2)
ศึกษาเครื่องมือและการฝึกปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ในด้านอินทิกรัลแคลคูลัส สมการเชิงอนุพันธ์ (Differential Equations)สมการผลต่างสืบเนื่อง(Difference Equations) การหาผลเลิศเชิงพลวัต (Dynamic Optimization) มาใช้อธิบายเศรษฐศาสตร์เชิงพลวัต ทั้งที่เป็นระดับจุลภาคและมหภาค
ศศฐ412 เศรษฐมิติขั้นสูง 3(2-2-5)
ECC412 Advanced Econometrics
(บุรพวิชา : ศศฐ 212เศรษฐมิติเบื้องต้น)
ศึกษาแบบจำลองทางเศรษฐมิติ และการประมาณค่าพารามิเตอร์ในแบบจำลองข้อมูลภาคตัดขวางอนุกรมเวลา (Panel Data Models) ระบบสมการที่เกี่ยวเนื่องกัน (Simultaneous Equation System) ศึกษาวิธีของตัวแปรเครื่องมือ (Instrumental Variable Techniques) วิธีการประมาณค่าแบบกำลังสองน้อยที่สุด 2 ขั้นตอน และการประมาณค่าพารามิเตอร์ระบบสมการถดถอย (System of Regressions and Seemingly Unrelated Regression: SUR) การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับพารามิเตอร์ การแปรผลค่าพารามิเตอร์และการทดสอบสมมติฐานในแบบจำลองทางเศรษฐมิติที่เป็นระบบสมการการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของการทำงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
ศศฐ413 เศรษฐมิติอนุกรมเวลา 3(2-2-5)
ECC413 Time Series Econometrics
(บุรพวิชา : ศศฐ 212เศรษฐมิติเบื้องต้น)
ศึกษาแบบจำลองทางเศรษฐมิติและการประมาณค่าตัวแบบจำลองทางเศรษฐมิติด้วยข้อมูลอนุกรมเวลา แบบจำลองที่มีความล่าช้า (Distributed Lag Model) แบบจำลอง ARIMA แบบจำลองแก้ไขค่าความคาดเคลื่อน (Error Correction Model) แบบจำลองอัตถดถอยเวกเตอร์ (Vector Auto-regressive Model) การวิเคราะห์ปัจจัยกระตุ้น-ผลตอบสนอง (Impulse-response Analysis) แบบจำลองโคอินทีเกรชัน (Co-integration Analysis) แบบจำลองอัตถดถอยเวกเตอร์ภายใต้เงื่อนไขความแปรปรวนไม่คงที่และไม่คงที่ทั่วไป (Heteroscedastic and Generalized VAR model) การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับพารามิเตอร์ การแปรผลค่าพารามิเตอร์และการทดสอบสมมติฐานในแบบจำลองทางเศรษฐมิติที่เป็นระบบอนุกรมเวลาการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของการทำงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
ศศฐ414 วิทยาการข้อมูล 3(2-2-5)
ECC414 Data Sciences
ศึกษาวิธีการเชิงตัวเลขสำหรับนักเศรษฐศาสตร์ การทำซิมมูเลชันเชิงตัวเลข (Numerical Simulation) การหาค่าเหมาะสมเชิงตัวเลข (Numerical Optimization) วิธีการมอนติคาร์โล (Monte Carlo method) การแก้ปัญหาเชิงพลวัตด้วยการทำให้เป็นเส้นตรง (Solving Dynamic Problems using Linearization) การแก้ปัญหาไดนามิกโปรแกรมมิง (Dynamic Programming) และการวิเคราะห์ข้อมูล Big Dataการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ข้อมูล
ศศฐ322 เศรษฐศาสตร์สาธารณะ 3(3-0-6)
ECC322 Public Economics
ศึกษาบทบาทของรัฐบาลไทยในระบบเศรษฐกิจ ความสมดุลระหว่างกิจกรรมภาครัฐและภาคเอกชน โครงสร้างการใช้จ่ายและโครงสร้างรายได้ของรัฐบาล หลักการภาษีอากร ผลกระทบของการเก็บภาษี งบประมาณและนโยบายงบประมาณ นโยบายการคลัง
ศศฐ423 ประวัติแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ 3(3-0-6)
ECC423 History of Economic Thoughts
ศึกษาวิวัฒนาการของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ โดยเน้นแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ยุคคลาสสิก นีโอคลาสสิก เคนส์เซียน สังคมนิยม นักเศรษฐศาสตร์หลังจากเคนส์ และเศรษฐศาสตร์สถาบัน รวมถึงศึกษาระบบเศรษฐศาสตร์เปรียบเทียบสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและแนวคิดเศรษฐศาสตร์ สถาบันร่วมสมัยอื่นๆ
ศศฐ424 เศรษฐศาสตร์การเกษตร 3(3-0-6)
ECC424 Agricultural Economics
ศึกษาการผลิต การบริโภค และการกำหนดราคาของผลผลิตการเกษตรทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค สำหรับผลผลิตการเกษตรที่คำนึงถึงการจัดการทรัพยากร รวมทั้งที่ดินและน้ำ ปัญหามลภาวะ เทคนิคการเกษตรที่เหมาะสม และการเกษตรยั่งยืน นโยบายการเกษตรที่เหมาะสมกับประเทศไทย
ศศฐ425 การวิเคราะห์โครงการ 3(2-2-5)
ECC425 Project Analysis
ศึกษาการวางแผนโครงการ การเขียนโครงการ การบริหารโครงการ และการประเมินโครงการทั้งทางการเงินและทางเศรษฐศาสตร์โดยเน้นกรณีศึกษาของโครงการที่เกิดขึ้นจริง
ศศฐ426 การวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจ 3(2-2-5)
ECC426 Economic Policy Analysis
ศึกษาหลักการและทฤษฎีว่าด้วยการกำหนดนโยบายการลงทุนและการเลือกใช้ เทคนิคในการผลิต นโยบายการค้าและความช่วยเหลือระหว่างประเทศ นโยบายการเงินและการคลัง นโยบายการพัฒนาเกษตรและอุตสาหกรรม นโยบายเกี่ยวกับประชากร ตลอดทั้งขั้นตอนและกระบวนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ เทคนิคและวิธีการในการวางแผนและการจัดทำโครงการพัฒนา โดยเน้นกรณีศึกษาของนโยบายเศรษฐกิจที่ถูกนำมาใช้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ศศฐ427 หัวข้อเฉพาะด้านทางเศรษฐศาสตร์ 3(2-2-5)
ECC427 Special Topics in Economics
ศึกษาประเด็นทางเศรษฐศาสตร์สำคัญที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทั้งในระดับประเทศหรือระดับนานาชาติภายใต้การดูแลของอาจารย์ผู้สอน ในรูปแบบของการทำรายงานเฉพาะเรื่องการอภิปรายกรณีศึกษา และประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ศศฐ331 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ 3(3-0-6)
ECC331 Human Resource Economics
ศึกษาแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ รูปแบบการลงทุนในทุนมนุษย์การย้ายถิ่นของแรงงาน การวิเคราะห์ผลตอบแทนส่วน บุคคลและผลตอบแทนส่วนสังคมจากการลงทุนในทุนมนุษย์โดยเน้นการศึกษาและการฝึกอบรม การวางแผน กำลังคน การพัฒนากำลังคน นโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ศศฐ332 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3(3-0-6)
ECC332 Natural Resource and Environmental Economics
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศกำลังพัฒนา ศึกษาแนวคิดเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ในการจัดการ ปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศึกษาบทบาทของชุมชน ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และการร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆในการควบคุมและแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก ตลอดจนแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเบื้องต้น รวมทั้งภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลก
ศศฐ433 เศรษฐศาสตร์แรงงาน 3(3-0-6)
ECC433 Labor Economics
ศึกษาทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานแรงงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รูปแบบตลาดแรงงาน โครงสร้างค่าจ้าง บทบาทของสหภาพแรงงาน บทบาทของรัฐในตลาดแรงงาน การคุ้มครองทางสังคม การเลือกปฏิบัติในตลาดแรงงานและผลของโลกาภิวัตน์ต่อการจ้างงาน
ศศฐ434 เศรษฐศาสตร์เพศภาวะ 3(3-0-6)
ECC434 Gender Economics
ศึกษาวิวัฒนาการของบทบาททางเพศในระบบเศรษฐกิจ ทฤษฎีการตัดสินใจอยู่ร่วมกันเป็นครัวเรือน การจัดสรรเวลาของคู่สมรสระหว่างงานในครัวเรือนและตลาดแรงงาน ปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานที่มีอิทธิพลกำหนดความแตกต่างระหว่างเพศในอาชีพและรายได้ การตัดสินใจลงทุนในการศึกษาอบรมและโอกาสในตลาดแรงงาน ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติทางเพศ การนำประเด็นทางเพศรวมไว้ในนโยบายและมาตรการของรัฐ และอื่นๆ
ศศฐ435 เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข 3(3-0-6)
ECC435 Public Health Economics
ศึกษาแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ด้านสาธารณสุขและสุขภาพ อุปสงค์และอุปทานต่อบริการสุขภาพ ความล้มเหลวของตลาดบริการสุขภาพและการแทรกแซงของรัฐ การประกันสุขภาพ การคลังสาธารณสุข ปัจจัยการผลิตบริการสุขภาพ ประสิทธิภาพและความเสมอภาคในระบบบริการสุขภาพ การประเมินโครงการสุขภาพ ปัญหาความไร้สมมาตรของสารสนเทศในการประกันสุขภาพ และกรณีศึกษาการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ
ศศฐ436 เศรษฐศาสตร์พลังงาน 3(3-0-6)
ECC436 Energy Economics
ศึกษาความสำคัญของพลังงานที่มีต่อเศรษฐกิจ ปัจจัย นโยบายของภาครัฐที่มีอิทธิพลต่อการผลิต การแปรรูป การขนส่ง และความต้องการใช้ทรัพยากรพลังงาน ผลกระทบของพลังงานที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงานทดแทนชนิดต่างๆ โครงสร้างตลาดและราคาของพลังงานรวมทั้งความร่วมมือและข้อตกลงระหว่างประเทศในประเด็นต่าง ๆ และกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน
ศศฐ442 หลักการลงทุน 3(3-0-6)
ECC442 Principles of Investments
ศึกษากระบวนการลงทุน เครื่องมือในการลงทุน บทบาทของตลาดการเงิน ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยง ทฤษฎีกลุ่มหลักทรัพย์ (Portfolio Theory) ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ (Efficient Market Hypothesis) วิเคราะห์ตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารอนุพันธ์ โดยเน้นการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์
ศศฐ443 การเงินบรรษัท 3(3-0-6)
ECC443 Corporate Finance
ศึกษาถึงบทบาทของการบริหารการเงิน การวิเคราะห์ทางการเงิน การวางแผนและการพยากรณ์ทางการเงิน การวางแผนกำไร การบริหารเงินทุนหมุนเวียน การบริหารเงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด การบริหารลูกหนี้ การบริหารสินค้าคงเหลือ การจัดหาเงินทุนระยะสั้น ระยะปานกลาง โครงสร้างการเงินและต้นทุนของเงินทุน และนโยบายการจ่ายเงินปันผล
ศศฐ444 เศรษฐมิติทางการเงิน 3(2-2-5)
ECC444 Financial Econometrics
(บุรพวิชา : ศศฐ 212เศรษฐมิติเบื้องต้น)
ศึกษาลักษณะของข้อมูลทางการเงิน เครื่องมือทางสถิติและแบบจำลองเศรษฐมิติที่ทันสมัยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน การพยากรณ์ผลตอบแทน ความผันผวนและความเสี่ยงทางการเงินการประยุกต์แบบจำลองเศรษฐมิติในการวิเคราะห์ประเด็นทางเศรษฐศาสตร์การเงิน การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการประมาณค่าพารามิเตอร์ การแปรผลค่าพารามิเตอร์ในแบบจำลองทางเศรษฐมิติทางเศรษฐศาสตร์การเงิน
ศศฐ445 เศรษฐศาสตร์ประกันภัย 3(3-0-6)
ECC445 Insurance Economics
ศึกษาความเสี่ยงทั้งหมด (Total Risk) ทุกประเภท รวมทั้ง ความเสี่ยงในระดับสากล (Global risk ) และความไม่แน่นอน ประเภทของการประกันภัย การประกันชีวิต และ การประกันวินาศภัย การประกันบุคคลที่สาม การประกันสุขภาพ การประกันสังคม บทบาทของการประกันภัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะการออม และ การลงทุน ผ่านการประกันภัย
ศศฐ452 การค้าระหว่างประเทศ 3(3-0-6)
ECC452 International Trade
(บุรพวิชา : ศศฐ351เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ)
ศึกษาทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศตั้งแต่กลุ่มคลาสสิก กลุ่มนีโอคลาสสิก กลุ่มทฤษฎีการค้าแนวใหม่ และกลุ่มอื่น ๆ โดยใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์มาอธิบาย การวิเคราะห์ผลของนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ทางการค้าระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจรวมทั้งกรณีศึกษาปัญหาการค้าระหว่างประเทศ
ศศฐ453 เศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ 3(3-0-6)
ECC453 International Monetary Economics
(บุรพวิชา : ศศฐ351เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ)
ศึกษาทฤษฏีกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ กลไกการปรับตัวของดุลการชำระเงินภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบต่าง ๆ การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ และนโยบายในระบบเศรษฐกิจมหาภาคแบบเปิด รวมทั้งวิเคราะห์วิกฤตการณ์ทางการเงินระหว่างประเทศที่สำคัญ
ศศฐ454 การลงทุนระหว่างประเทศ 3(3-0-6)
ECC454 International Investments
ศึกษาบทบาทและความสำคัญของการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติต่อเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก ทฤษฎีที่อธิบายพฤติกรรมของการลงทุน การกำหนดค่าจ้างและการบริหารทรัพยากรบุคคล โครงสร้างตลาด การดำเนินธุรกิจ และผลการดำเนินงานของบรรษัทข้ามชาติ โดยเน้นผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจภายในประเทศ บทบาทของรัฐและองค์กรระหว่างประเทศต่อการส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศ และวิเคราะห์บรรษัทข้ามชาติในประเทศกำลังพัฒนา
ศศฐ455 เศรษฐกิจเฉพาะประเทศ 3(2-2-5)
ECC455 Economics of Selected Countries
ศึกษาการวิเคราะห์เชิงลึกด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่มีตัวอย่างสถานการณ์การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นโดยเน้นการประยุกต์ทฤษฎีพัฒนาเศรษฐกิจในการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา โครงสร้างระบบเศรษฐกิจ บทบาทรัฐ และบทบาทของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง
ศศฐ361 เศรษฐศาสตรอุตสาหกรรม 3(3-0-6)
ECC 361 Industrial Economics
ศึกษาบทบาทความสําคัญของ ภาคอุตสาหกรรมในระบบเศรษฐกิจ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคอื่นๆในระบบเศรษฐกิจ หลักเกณฑ์การตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรม และอํานาจการผูกขาดในอุตสาหกรรม ผลกระทบของนโยบายรัฐบาลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งกฎหมายทางเศรษฐกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม
ศศฐ462 องค์การอุตสาหกรรม 3(3-0-6)
ECC462 Industrial Organization
ศึกษาความสัมพันธระหวางโครงสรางตลาด พฤติกรรมของหนวยธุรกิจ และผลการดําเนินงานของหนวยธุรกิจในอุตสาหกรรม การสรางความแตกตางในสินคาการวมตัวของหนวยธุรกิจ การโฆษณา การวิจัยและพัฒนา บทบาทของรัฐบาลในการการกำกับควบคุมหนวยธุรกิจในอุตสาหกรรม
ศศฐ463 ทฤษฎีเกม 3(3-0-6)
ECC463 Game Theory
ศึกษาการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมภายใต้สภาวการณ์ที่สารสนเทศสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ เกมกลยุทธ์ ดุลยภาพแบบแนช ดุลยภาพแบบกลยุทธ์ผสม เกมที่มีการต่อขยาย (Extensive game) ดุลยภาพแบบสมบูรณ์ทุกเกมย่อย เกมเบย์ และเกมที่มีการต่อขยายภายใต้สภาวการณ์ที่สารสนเทศไม่สมบูรณ์ ศึกษาบทประยุกต์ทฤษฎีเกม
ศศฐ464 เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม 3(2-2-5)
ECC464 Behavioral Economics
ศึกษาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ภายใต้เงื่อนไขการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเอง (Optimization) และการเลือกอย่างมีเหตุผล (Rational Choice) การประยุกต์จิตวิทยากับเศรษฐศาสตร์ภาตใต้แบบจำลองการตัดสินใจ การศึกษาอคติเชิงพฤติกรรมและการประยุกต์เศรษฐศาสตร์เชิงทดลอง แบบจำลองเศรษฐมิติ และสถิติในฐานะเครื่องมือในการศึกษาเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม
ศศฐ465 เศรษฐศาสตร์ขนส่งและโลจิสติกส์ 3(2-2-5)
ECC465 Transportation Economics and Logistics
ศึกษาบทบาทของการขนส่งในระบบเศรษฐกิจภายในและระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างการขนส่งต่อการเลือกที่ตั้งของหน่วยผลิตและธุรกิจการค้า หลักเกณฑ์และเหตุผลการตั้งอัตราค่าขนส่งในเชิงเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนเอกชนและต้นทุนสังคมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ความสัมพันธ์ของการขนส่งในเมืองกับการขยายตัวของเมือง ปัญหาและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนด้านการขนส่งในเขตเมืองโดยเน้นการวิเคราะห์กรณีศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ขนส่งและโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ศศฐ371 เศรษฐศาสตร์การจัดการ 3(3-0-6)
ECC371 Managerial Economics
ศึกษาหลัก และทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่นำประยุกต์ใช้ในการจัดการองค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะในหน่วยธุรกิจ การวิเคราะห์ การประมาณและการพยากรณ์อุปสงค์ ฟังก์ชั่นการผลิต การวิเคราะห์ การประมาณและการพยากรณ์ต้นทุน การใช้โปรแกรมเส้นตรงในการวางแผนการผลิต การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและกำไร และการตั้งราคาในตลาดประเภทต่าง ๆ
ศศฐ472 เศรษฐศาสตร์เชิงกลยุทธ์ 3(2-2-5)
ECC472 Strategic Economics
ศึกษาพฤติกรรมของตลาด แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ กลยุทธ์หลักขององค์กร กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ การตอบโต้เชิงกลยุทธ์ระหว่างผู้ประกอบการ การวางนโยบายด้านการแข่งขัน เปรียบเทียบการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์กรภาครัฐและภาคเอกชน วิเคราะห์กรณีศึกษารวมทั้งกระบวนการในการจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤติในองค์กร ผ่านกระบวนการอภิปรายในชั้นเรียน
ศศฐ473 การสื่อสารเศรษฐกิจ 3(2-2-5)
ECC473 Economic Communication
ศึกษาแบบพหุวิทยาการโดยประยุกต์ความรู้การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และนิเทศศาสตร์ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ และการฝึกปฏิบัตินำเสนอข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจอย่างถูกต้องในทุกมิติผ่านกรณีศึกษา/การอภิปรายภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ศศฐ474 เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3(2-2-5)
ECC474 Creative Economy
ศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การสร้างสรรค์งาน (Creativity) ตลอดจนการสั่งสมความรู้ของสังคมและเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ในการผลิตสินค้าและบริการใหม่โดยเน้นการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง
ศศฐ475 เศรษฐกิจดิจิทัล 3(2-2-5)
ECC475 Digital Economy
ศึกษาโครงสร้างตลาดดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการลดต้นทุนการผลิตการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลโดยเน้นการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง
ศศฐ476 เศรษฐศาสตร์สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเกิดใหม่ 3(2-2-5)
ECC476 Economics for Startup Entrepreneurs
ศึกษาต้นทุนการผลิต ประสิทธิภาพการผลิต พฤติกรรมของผู้บริโภค โครงสร้างตลาด ปัจจัยพื้นฐานในการก่อตั้งธุรกิจเกิดใหม่ให้ประสบความสำเร็จ การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ทางธุรกิจ การวางแผนทางธุรกิจโดยเน้นการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง